เครื่องติดตามรถ จำเป็นแค่ไหน ใครต้องใช้บ้าง ?

จีพีเอส

          จีพีเอส หรือ GPS ย่อมาจาก Global Positioning System มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการในภาษาไทยว่า “ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก” จีพีเอสถูกคิดค้นและผลิตขึ้นโดยกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันได้อนุญาตให้ทุกคนทั่วโลกสามารถใช้งานเจ้าจีพีเอสนี้ได้อย่างเต็มที่     

จีพีเอสทำงานโดยใช้การสื่อสารกับดาวเทียมโดยเครือข่ายดาวเทียมจะมีทั้งหมด 3 ค่ายหลักดังนี้

          1. Galileo จากยุโรป บริหารงานโดย ESA หรือ European Satellite Agency มีดาวเทียมทั้งหมด 27 ดวง

          2. GLONASS – Global Navigation Satellite จากประเทศรัสเซีย บริหารโดย Russia VKS (Russia Military Space Force)

          3. NAVSTAR – Navigation Satellite Timing and Ranging GPS  จากสหรัฐอเมริกา มีดาวเทียม 28 ดวง ใช้งานจริง 24 ดวง อีก 4 ดวงเป็นตัวสำรอง ซึ่งคนทั่งโลกสามารถใช้งานข้อมูลจีพีเอสจากดาวเทียมของค่าย NAVSTAR ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ตามนโยบายสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารสำหรับประชาชนของรัฐบาลสหรัฐ จึงเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในระดับความแม่นยำที่ไม่เป็นภัยต่อความมันคงของรัฐ

จีพีเอสทำงานอย่างไร ?

          จีพีเอสทำงานโดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม ที่โคจรไปรอบๆ โลก ทั้งหมด 24 ดวง แบ่งออกเป็น ดาวเทียมจีพีเอสหลัก 21 ดวง และดาวเทียมสำรอง  3 ดวง แต่ละดวงมีระยะห่างเท่าๆกัน จากนั้น คนบนพื้นโลกที่มีเครื่องรับสัญญาณจีพีเอสก็จะสามารถรับข้อมูลระบุตำแหน่งที่ตัวเองได้ได้ โดยความแม่นยำจะอยู่ระหว่าง 10-100 เมตร ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์รับสัญญาณที่ใช้ตำแหน่งของดาวเทียมแต่ละดวง

ระบบนำทางจีพีเอสทำงานอย่างไร ?

          ระบบนำทางโดยจีพีเอสจะทำงานโดยใช้สัญญาณจากดาวเทียม เมื่อเราเปิดรับสัญญาณจีพีเอสจากดาวเทียมเมื่อไหร่ ระบบจะแสดงตำแหน่งของเราบนแผนที่ และข้อมูลของเส้นทางต่างๆ โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่ระบุไว้ในข้อมูลแผนที่ซึ่งได้มีการสำรวจและส่งข้อมูลไว้ก่อนหน้านี้ จากนั้นระบบจะทำการคำนวณเส้นทางล่วงหน้าเพื่อให้ระบบเสียงนำทางแจ้งเตือนการเลี้ยวการเลือกเส้นทางล่วงหน้าได้  หากมีการออกนอกเส้นทางระบบจะทำการคำนวณเส้นทางให้ใหม่ทันที

แผนที่นำทางของจีพีเอสมาจากไหน ใครเป็นคนทำ ?

          ในประเทศไทยมีผู้จัดทำแผนที่ที่ใช้กับจีพีเอสรายใหญ่ๆ อยู่ 3 รายได้แก่ GARMIN, POWER MAP และ SpeedNavi โดยบริษัทเหล่านี้จะทำการถ่ายภาพทางอากาศจากดาวเทียมมาต่อเรียงกันเพื่อให้เป็นภาพรวมขอประเทศก่อจะอ้างอิงจุดทางภูมิศาสตร์เป็นค่าพิกัดดางเทียมแล้วสร้างข้อมูลต่างๆ จำพวกถนน แม่น้ำ สถานที่ ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรและบุคลากรเป็นจำนวนมาก และยังต้องคอยอัพเดตอยู่ตลอดเวลา

          แผนที่ของแต่ละบริษัทก็จะมีความพิเศษแตกต่างกันไป ไม่สามารถดึงแผนที่ของบริษัทนึงไปใช้กับแผนที่ของอีกบริษัทได้ ยกเว้นว่าจะมีรหัสของทางบริษัทจึงจะสามารถทำได้

          แม้เจ้าอุปกรณ์จีพีเอสเหล่านี้จะดูเป็นอุปกรณ์ง่ายๆ แต่ที่จริงแล้วขนาดของข้อมูลและการใช้งานกลับเป็นระบบขนาดใหญ่ระดับโลกที่ช่วยให้ชีวิตเราทุกคนง่ายขึ้น

You May Also Like

เช็คช่วงล่างรถ

แนวทางการเช็คช่วงล่างของรถยนต์ที่ต้องเรียนรู้

ซื้อขายรถยนต์

ข้อควรระวังหากเซลล์ขายรถ ส่งรถให้เราไม่ตรงที่ต้องการ

รถมือสอง

หลักการเลือกรถมือสอง

รถกอล์ฟ

รถกอล์ฟ มีดีมากกว่าแค่ขับในสนาม